บทที่ 3

บทที่ 3 ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา

  • แผ่นดินไหว
สาเหตุและกลไกในการเกิด   

 - การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกตามแนวระหว่างรอยต่อของแผ่นธรณีภาค ทำให้เกิดแรงกระทำต่อชั้นหินเพื่อทำให้ชั้นหินแตกหัก เมื่อแรงมีขนาดมากจนทำให้แผ่นหินแตกหัก จะเกิดการถ่ายโอนพลังงานนั้นไปยังชั้นหินที่อยู่ติดกัน

     - เรียกจุดกำเนิดการสั่นสะเทือนว่า ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (focus)    

     - ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ( epicenter )




  • คลื่นไหวสะเทือน มี 2 แบบ
  1. คลื่นในตัวกลาง
  1. คลื่นพื้นผิว แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
   - คลื่นเลิฟ ( L wave ) เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางสั่นในแนวราบ โดยมีทิศทางตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น



   - คลื่นเรย์ลี ( R wave ) เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคตัวกลางสั่น ม้วนตัวขึ้นลงเป็นรูปวงรีในแนวดิ่ง โดยมีทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น



  • หน่วยวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว คือ ริกเตอร์ ( richter )
  • น้อยกว่า 2.0 ริกเตอร์ เป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก
  • 6.0 ริกเตอร์ขึ้นไป จัดเป็นแผ่นดินไหวรุนแรง
การระเบิดของภูเขาไฟ   เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลกโดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้น สิ่งที่พุ่งออกมาจากภูเขาไฟเมื่อภูเขาไฟระเบิด คือ หินหนืด ไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหินและแก๊สต่างๆ



หินภูเขาไฟ
  • ความพรุนของหินขึ้นอยู่กับอัตราการเย็นตัวของลาวา
หินอัคนีแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
  • เย็นตัวใต้พื้นโลก → เย็นตัวช้า → เนื้อหยาบ  ( หินอัคนีแทรกซอน )
  • เย็นตัวบนผิวโลก → เย็นตัวเร็ว → เนื้อละเอียด ( หินอัคนีพุ )
หินบะซอลต์



  • เป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่ผิวโลก
  • เป็นต้นกำเนิดอัญมณี
  • ถ้ามีปริมาณของ Si จะเป็น หินแอนดีไซด์
หินพัมมิซ



  • เป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็วของลาวา ทำให้มีความพรุนสูง บางชิ้นลอยน้ำได้
  • นำมาใช้เป็นหินขัดตัว





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น