บทที่ 6 ดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์ ( Star )
- ดาวฤกษ์ คือ ก้อนแก๊สร้อนขนาดใหญ่มีไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่
- ดาวฤกษ์ต่างจากดาวเคราะห์ที่สามารถผลิตพลังงานได้ด้วยตนเองจึงสามารถเปล่งแสงได้
- ดาวฤกษ์ทุกดวงยกเว้นดวงอาทิตย์ปรากฏเป็นจุดสว่างบนท้องฟ้าซึ่งกะพริบได้เนื่องจากจากผลของบรรยากาศโลกและระยะห่างจากโลก
- ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์เช่นกัน แต่อยู่ใกล้เราจนปรากฏเป็นแผ่นกลมแทนที่จะเป็นจุด
วิวัฒนาการของดาวฤกษ์
- ดาวฤกษ์เกิดจากการยุบตัวของเนบิวลา
- ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นบนดาวฤกษ์เรียกว่า เทอร์โมนิวเคลียร์ หรือ นิวเคลียร์แบบฟิวชั่น
- เนบิวลาที่มีความหนาแน่นมากจะยุบตัวลงเกิดเป็นดาวฤกษ์ก่อนเกิด Protostar ซึ่งอุณหภูมิและความดันที่ใจกลางยังไม่มากพอที่จะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ขึ้นได้
- เมื่อดาวฤกษ์ยุบตัวภายใต้แรงโน้มถ่วงจนเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แล้วจึงจะเริ่มเปล่งแสงและกลายเป็นดาวฤกษ์โดยสมบูรณ์
- ดาวฤกษ์ที่มีมวลมาก มีความสว่างมาก ใช้เชื้อเพลิงในอัตราสูง มีชีวิตสั้น
- จุดจบของดาวฤกษ์ที่มีมวลมากจะมีการระเบิดอย่างรุนแรง เรียกว่า Supernova
ดวงอาทิตย์
- มีอายุมาแล้ว 5000 ล้านปี และจะมีชีวิตต่อไปอีก 5000 ล้านปี
- พลังงานในดวงอาทิตย์ได้มาจากปฏิกิริยา เทอร์โมนิวเคลียร์หรือนิวเคลียแบบฟิวชั่น
- เมื่อใช้เชื่อเพลิงไฮโดรเจนหมดแกนกลางจะยุบตัว เกิดการเผาผลาญฮีเลียม แล้วจะขยายขนาดใหญ่ขึ้นเป็นดาวยักษ์แดง
ความสว่างและอันดับความสว่างของดาวฤกษ์
- ความสว่างของดาวฤกษ์เป็นปริมาณพลังงานแสงจากดาวฤกษ์ดวงนั้นใน 1 วินาทีต่อ 1 หน่วยพื้นที่
สีและอุณหภูมิของดาวฤกษ์
- สีของดาวฤกษ์จะมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิที่ผิว และอายุของดาว
- ดาวที่มีสีน้ำเงิน จะมีอุณหภูมิผิวสูง อายุน้อย
- ดาวที่มีสีส้มแดง จะมีอุณหภูมิผิวต่ำ อายุมาก
- ดวงอาทิตย์เป็ดาวฤกษ์สีเหลือง มีอุณหภูมิผิวประมาณ 6000 เคลวิน
ระยะทางในดาราศาสตร์
- 1 หน่วยดาราศาสตร์ ( Astronomical Unit ) มีค่าเท่ากับระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงโลก หรือ 150 ล้านกิโลเมตร เป็นหน่วยที่ใช้ในการบอกระยะห่างภายในระบบสุริยะ
- 1 ปีแสง ( Light Year ) คือ ระยะทางที่แสงเดินทางใช้เวลา 1 ปี คิดเป็นระยะทาง 9.5 x 10^12
- 1 พาร์เซก ( Parsec ) ระยะจากโลกถึงดาวที่มีมุมแพรัลแลกว์เท่ากับ 1 ฟิลิปดา คิดเป็นระยะทาง 206265 A.U. หรือ 3.26 ปีแสง
ระยะห่างของดาวฤกษ์
เนบิวลา
คือ กลุ่มฝุ่นแก๊สขนาดใหญ่ ประกอบด้วย แก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียม เป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ เมื่อมองด้วยตาเปล่าหรือใช้กล้องสองตาจะเป็นฝ้า ขาวจางๆ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- เนวบิวลาสว่างประเภทเรืองแสง ( Emission nebula )
ส่วนใหญ่จะเป็นอะตอมไฮโดรเจน จะปล่อยแสงสีแดง กับอะตอมของออกซิเจนให้แสงสีเขียว เช่น เนบิวลาดาวนายพราน เนบิวลา นกอินทรี เนบิวลาสามแฉก เนบิวลาปู
- เนบิวลาสว่างประเภทสะท้อนแสง
องค์ประกอบของฝุ่นผงเป็นส่วนใหญ่คล้ายควันบุหรี่ ซุ่งจะให้แสงสีน้ำเงินออกมา เช่น เนบิวลาในกระจุกดาวลูกไก่
- เนบิวลาดาวเคราะห์
จะเกิดในช่วงสุดท้ายของดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย Planetary nebula ในเอกภพนั้นมีเยอะแยะมากมาย เพราะดาวฤกษ์ส่วนใหญ่จะมีขนาดเท่ากับดวงอาทิตย์ แต่เป็นที่น่าประหลาดใจมากกว่า รูปร่างของ Planetary nebula กลับมีหลากหลาย
เนบิวลาตาแมว
เนบิวลาวงแหวน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น