บทที่ 1

การศึกษาโครงสร้างโลก
  •  ทางตรง เช่นศุกษาโครงสร้างโลกจากหินภูเขาไฟ  วัดอุณหภูมิในบริเวณเหมืองลึก
  •  ทางอ้อม ศึกษาจากคลื่นไหวสะเทือนที่เกิดจากแผ่นดินไหว

คลื่นในตัวกลาง ( Body Wave )
      เดินทางผ่านเข้าไปภายในของโลกผ่านไปยังพื้นผิวโลก มี 2 ลักษณะ คือ

  • คลื่นปฐมภูมิ ( P wave ) ผ่านตัวกลางได้ทุกสถานะ
  • คลื่นทุติยภูมิ ( S wave ) ผ่านตัวกลางได้เฉพาะสถานะที่เป็นของแข็งเท่านั้น





การแบ่งโครงสร้างโลก
     ตามลักษณะกายภาพแบ่งเป็น  5  ส่วน

  1. ธรณีภาค ( Lithosphere ) เป็นชั้นนอกสุดของโลก ประกอบด้วยเปลือกโลกทวีป และ เปลือกโลกมหาสมุทร มีความลึกประมาณ 100 กิโลเมตร จากผิวโลก
  2. ฐานธรณีภาค ( Asthenosphere ) แบ่งเป็น 2 เขต คือ
          - เขตคลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วต่ำ มีความลึกประมาณ 100-400 กิโลเมตรจากผิวโลก บริเวณนี้
             ประกอบด้วยหินที่มีสมบัติเป็นพลาสติก     
          - เขตที่มีการเปลี่ยนแปลง มีความลึกประมาณ 400-700 กิโลเมตร มีความเร็วเพิ่มขึ้นไม่สม่ำเสมอ
   
      3. มีโซสเฟียร์ ( Mesophere ) อยู่บริเวณเนื้อโลกชั้นล่าง ลึกประมาณ 700-2900 กิโลเมตร
          มีความเร็วสม่ำเสมอ เนื่องจากเป็นของแข็ง
      4. แก่นโลกชั้นนอก ( Outer core ) ระดับความลึก 2900-5150 กิโลเมตร คลื่น P ลดลง S ไม่ปรากฎ            บริเวณนี้เป็นเหล็กหลอมละลาย ( เหล็ก นิกเกิล ) เป็นของเหลว
      5. แก่นโลกชั้นใน ( Inner core ) ที่ระดับความลึก 5150-6371 กิโลเมตร ที่จุดศูนย์กลางของโลก                คลื่น P ความเร็วขึ้นเนื่องจากความกดดันแรงกดดันภายในทำให้เหล็กเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง


โครงสร้างโลกแบ่งเป็น 3 ชั้นได้แก่
  • เปลือกโลก ( Crust ) ได้แก่ เปลือกโลกทวีป มี Si และ Al เป็นส่วนใหญ่ เปลือกโลกมหาสมุทร มี Si และ Mg เป็นส่วนใหญ่
  • เนื้อโลก ( Mantle ) เป็นชั้นของหินหลอมละลาย เรียกว่า แมกมา
  • แก่นโลก ( Core ) ประกอบด้วยเหล็กและนิกเกิลที่หลอมละลาย









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น