บทที่ 4

บทที่ 4 ธรณีประวัติ

  • อายุทางธรณีวิทยา แบ่งได้ 3 อย่าง คือ
  1. อายุเทียบสัมพันธ์ คือ อายุเปรียบเทียบ หาได้โดยอาศัยข้อมูลจากซากดึกดำบรรพ์ที่ทราบอายุแล้วนำมาเปรียบเทียบกับช่วงเวลา เรียกว่า ธรณีกาล
  1. อายุสัมบูรณ์ คือ อายุของหินหรือซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถบอกเป็นจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน คำนวณจากครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในหิน เช่น C-14, K-40, Rb-87, U-238 เป็นต้น
   - ซากดึกดำบรรพ์ ( fossil )












  • เป็นซากพืชซากสัตว์ที่ตายทับถมอยู่ในชั้นหินตะกอนแล้วเปลี่ยนเป็นหิน ได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์ และร่องรอย
  • ซากดึกดำบรรพ์บางชนิดปรากฎให้เห็นเป็นช่วงสั้นๆ ดังนั้นสามารถใช้บอกอายุหินที่มีซากนั้นอยู่ได้ เรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี
  • คือ ซากดึกดำบรรพ์ที่บอกช่วงอายุได้แน่นอน

      3. การลำดับชั้นหิน เนื่องจากชั้นหินเกิดจากการทับถมกันของตะกอน ดังนั้นหินตะกอนที่อยู่ด้านล่างจะเกิดก่อน และหินที่อายุน้อยกว่าจะซ้อนอยู่ด้านบนเป็นชั้นๆตามลำดับ




  • การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี แผ่นดินไหว หรือ ภูเขาไฟระเบิด ทำให้ชั้นหินที่อยู่ในแนวราบเกิดการเอียงเท
  • โครงสร้างทางธรณีวิทยาในชั้นหิน เช่น รอยเลื่อน รอยคดโค้ง สามารถอธิบายประวัติความเป็นมาของพื้นที่นั้นได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น